ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. อาจารย์ผู้สอนนำตัวอย่างโครงงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และประโยชน์มาให้นักเรียนศึกษา
2. ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาและทบทวนบทเรียนเกี่ยวกับลักษณะของโครงงานคอมพิวเตอร์
3. ให้นักเรียนร่วมกันศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เนื้อหาวิชาคอมพิวเตอร์ เกี่ยวกับการใช้และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
4. ให้นักเรียน สรุปความหมายและประโยชน์ของโครงงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าแล้วบันทึกให้ได้มากที่สุด
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
1.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มประมาณ 4-5คน
2.นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการทำโครงงาน จากหนังสือเรียน หรือศึกษาค้นคว้าจาก Internet
3. นักเรียนภายในกลุ่มร่วมกันแสดงความคิดเห็น และตอบคำถามเกี่ยวกับขั้นตอนการทำโครงงาน
3. นักเรียนร่วมกันศึกษาขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
3.1 คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
3.2 ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
3.3 จัดทำเค้าโครงของโครงงาน เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาเอกสารอ้างอิงต่างๆ และเลือกเรื่องที่จะทำโครงงานคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวางแผนการทำโครงงานทุกขั้นตอน โดยปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว จึงเขียนเค้าโครงของโครงงานเพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดและแนวทาง ตลอดจนข้อตกลงต่างๆ ในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ระหว่างผู้เรียน อาจารย์ เพื่อช่วยให้การทำโครงงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธภาพ ถูกต้องและเหมาะสม
3.4 การลงมือทำโครงงาน
3.5 การเขียนรายงาน
3.6 การนำเสนอและแสดงโครงงาน
3.4 การลงมือทำโครงงาน
3.5 การเขียนรายงาน
3.6 การนำเสนอและแสดงโครงงาน
4. สมาชิกกลุ่มร่วมกันอภิปรายลักษณะของโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
1. นักเรียนร่วมกันสรุปว่า โครงงานพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไรสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง
2. นักเรียนสรุปวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานว่าตรงกับจุดประสงค์ที่ได้รับหรือไม่
3. การทำโครงงานคอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกฝนนักเรียน
โครงงานคอมพิวเตอร์เป็น กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่น ไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบในเรื่องนั้นๆ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำเนินการ วางแผน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน ทำให้ผู้เรียนรู้จักใช้เหตุผลและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งโดยทั่วๆไป การทำโครงงานสามารถทำได้ทุกระดับการศึกษา ซึ่งอาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงาน อาจเป็นโครงงานเล็กๆ ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนหรือเป็นโครงงานใหญ่ที่มีความยากและซับซ้อนขึ้นก็ได้
ขั้นตอนการทำโครงงาน
1.การทำโครงงานมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1.1 การคิดและการเลือกหัวเรื่อง ผู้เรียนจะต้องคิดและใช้เหตุผลในการเลือกหัวข้อเรื่องของโครงงานด้วยตนเองว่าอยากจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด ทำไมจึงอยากศึกษาเรื่องนั้น หัวเรื่องของโครงงานที่ได้มักจะได้มาจากปัญหา คำถามหรือความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ของผู้เรียนเอง หัวเรื่องของโครงงานควรเฉพาะเจาะจงและชัดเจน การกำหนดหัวเรื่องของโครงงานนั้นมีแหล่งที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิด ความรู้และรอบรู้ ตามความสนใจจากหลายแหล่งด้วยกัน เช่น จากการอ่านหนังสือ เอกสาร บทความ การเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ การฟังบรรยายทางวิชาการ การเข้าชมนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานทางวิทยาศาสตร์ การสนทนากับบุคคลต่างๆ หรือจาการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัว เป็นต้น นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้
- ความเหมาะสมของระดับความรู้ ความสามารถของผู้เรียน
- วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้
- งบประมาณ
- ระยะเวลา
- ความปลอดภัย
- แหล่งความรู้
1.2 การวางแผนการทำโครงงาน จะรวมถึงการเขียนเค้าโครงของโครงงาน ซึ่งต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรัดกุมและรอบคอบ ไม่สับสน แล้วนำเสนอต่อผู้สอนหรือครูที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินการขั้นต่อไป การเขียนเค้าโครงของโครงงาน โดยทั่วไป เขียนเพื่อแสดงแนวคิด แผนงาน และขั้นตอนการทำโครงงาน ซึ่งควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
- ชื่อโครงงาน ควรเป็นข้อความที่กะทัดรัด ชัดเจน สื่อความหมายได้ตรง
- ชื่อผู้ทำโครงงาน
- ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
- หลักการและเหตุผลของโครงงาน จะต้องใช้เหตุผลในการคิด ตัดสินใจ ซึ่งการใช้เหตุผลในการเลือกทำโครงงานจะสามารถอธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานเรื่องนี้ มีความสำคัญอย่างไร มีหลักการหรือทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้อง เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ไว้บ้างแล้ว ถ้ามีได้ผลอย่างไร เรื่องที่ทำได้ขยายเพิ่มเติม ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไร หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อตรวจสอบผล
- จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ควรมีความเฉพาะเจาะจง และสามารถวัดได้ เป็นการบอกขอบเขตของงานที่จะทำได้ชัดเจนขึ้น
- สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี) สมมติฐานเป็นคำตอบหรือคำอธิบายที่คาดไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจจะถูกหรือไม่ก็ได้ การเขียนสมมติฐานควรมีเหตุมีผลมีทฤษฎีหรือหลักการรองรับและที่สำคัญ คือ เป็นข้อความที่มองเห็นแนวทางในการดำเนินการทดสอบได้ นอกจากนี้ควรมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามด้วย
- วิธีการและขั้นตอนในการดำเนินงาน จะต้องอธิบายว่า จะออกแบบการทดลองอะไรอย่างไร จะเก็บข้อมูลอะไรบ้างรวมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ มีอะไรบ้าง
- แผนปฏิบัติงาน อธิบายเกี่ยวกับกำหนดเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน
- ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เอกสารอ้างอิง
1.3 การดำเนินงาน เมื่อที่ปรึกษาโครงงานให้ความเห็นชอบเค้าโครงของโครงงานแล้ว ต่อไปก็เป็นขั้นลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ระบุไว้ ผู้เรียนต้องพยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ คำนึงถึงความประหยัดและปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนการบันทึกข้อมูลต่างๆ ว่าได้ทำอะไรไปบ้าง ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร พยายามบันทึกให้เป็นระเบียบและครบถ้วน
1.4 การเขียนรายงานเกี่ยวกับโครงงาน เป็นวิธีสื่อความหมายวิธีหนึ่งที่จะให้ผู้อื่นได้เข้าใจถึงแนวคิด วิธีการดำเนินงาน ผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เกี่ยวกับโครงงานนั้น การเขียนโครงงานควรใช้ภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ชัดเจนและครอบคลุมประเด็นสำคัญๆ ทั้งหมดของโครงงาน
1.5 การนำเสนอผลงาน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงานและเข้าใจถึงผลงานนั้น การนำเสนอผลงานอาจทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพอประมาณต่อประเภทของโครงงาน เนื้อหา เวลา ระดับของผู้เรียน เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง การเขียนรายงาน สถานการณ์จำลอง การสาธิต การจัดนิทรรศการ ซึ่งอาจมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือการรายงานปากเปล่า การบรรยาย สิ่งสำคัญคือ พยายามทำให้การแสดงผลงานนั้นดึงดูดความสนใจของผู้ชม มีความชัดเจน เข้าใจง่าย และมีความถูกต้องของเนื้อหา
2. การเขียนรายงานโครงงาน
การเขียนรายงานโครงงานเป็นรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอผลงานของโครงงานที่ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าตั้งแต่ต้นจนจบ การกำหนดหัวข้อในการเขียนรายงานผู้เรียนจะต้องมีความรู้และรอบรู้เกี่ยวกับโครงงาน อาจไม่ระบุตายตัวเหมือนกันทุกโครงงาน ส่วนประกอบของหัวข้อในรายงานต้องเหมาะสมกับประเภทของโครงงานและระดับชั้นของผู้เรียน องค์ประกอบของการเขียนรายงานโครงงาน แบ่งกว้างๆ เป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนปกและส่วนต้น ส่วนปกและส่วนต้น ประกอบด้วย
- ชื่อโครงงาน
- ชื่อผู้ทำโครงงาน ชั้น โรงเรียน และวันเดือนปีที่จัดทำ
- ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
- คำนำ
- สารบัญ
- สารบัญตาราง หรือภาพประกอบ (ถ้ามี)
- บทคัดย่อสั้นๆ ที่บอกเค้าโครงอย่างย่อๆ ซึ่งประกอบด้วย เรื่อง วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ระยะเวลา และสรุปผล
- กิตติกรรมประกาศ เพื่อแสดงความขอบคุณบุคคล หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง
2. ส่วนเนื้อเรื่อง
ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย
- บทนำ บอกความเป็นมา ความสำคัญของโครงงาน บอกเหตุผล หรือเหตุจูงใจในการเลือกหัวข้อโครงงาน
- วัตถุประสงค์ของโครงงาน
- สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
- การดำเนินงาน อาจเขียนเป็นตาราง แผนผังโครงงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามหัวข้อเรื่อง ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงงาน และพิสูจน์คำตอบ (สมมติฐาน) ตามประเด็นที่กำหนด ดังตัวอย่างการเขียนแผนผังโครงงานต่อไปนี้
ในแผนผังโครงงานทำให้เห็นระบบการทำงานอย่างมีเป้าหมาย มีการวางแผนการทำงาน จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ต้องการทราบ คือ หัวข้อย่อย หรือคำถามย่อยของหัวข้อโครงงาน ถ้ามีมาก ๑ ข้อ ก็จะเรียงลำดับทีละหัวข้อ พร้อมทั้งบอกสมมติฐาน วิธีศึกษา และแหล่งศึกษาค้นคว้าตามแผนผังให้ครบทุกข้อตามสิ่งที่ต้องการทราบ หัวข้อย่อยจากหัวข้อเรื่องของโครงงานที่ต้องการหาคำตอบ การตอบคำถามล่วงหน้า ค้นคว้า สอบถาม สัมภาษณ์ สังเกต ศึกษาโดยการดู-ฟัง จากสื่อชนิดต่างๆ - เอกสาร หนังสือ - สถานที่ บุคคล
- สรุปผลการศึกษา เป็นการอธิบายคำตอบที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ตามหัวข้อย่อยที่ต้องการทราบ ว่าเป็นไปตามสมมติฐานหรือไม่
- อภิปรายผล บอกประโยชน์ หรือคุณค่าของผลงานที่ได้ และบอกข้อจำกัดหรือปัญหา อุปสรรค (ถ้ามี) พร้อมทั้งบอกข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้า โครงงานลักษณะใกล้เคียงกัน
3. ส่วนท้าย
ส่วนท้าย ประกอบด้วย
- บรรณานุกรมหรือ เอกสารอ้างอิง หรือเอกสารที่ใช้ค้นคว้า ซึ่งมีหลายประเภท เช่น หนังสือ ตำรา บทความ หรือคอลัมน์ ซึ่งจะมีวิธีการเขียนบรรณานุกรมต่างกัน เช่น
หนังสือ ชื่อ นามสกุล. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์,ปีที่พิมพ์
บทความในวารสาร ชื่อผู้เขียน"ชื่อบทความ"ชื่อวารสาร.ปีที่หรือเล่มที่:หน้า ;วัน เดือน ปี.
คอลัมน์จากหนังสือพิมพ์ ชื่อผู้เขียน "ชื่อคอลัมน์ : ชื่อเรื่องในคอลัมน์" ชื่อหนังสือพิมพ์.วัน เดือน ปี. หน้า.
- ภาคผนวก เช่น โครงร่างโครงงาน ภาพกิจกรรม แบบสอบถาม บทสัมภาษณ์
ขั้นที่ 5 ขั้นนำไปใช้
1. นักเรียนบอกขั้นตอนการทำโครงงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และสามารถบอกขั้นตอนการทำโครงงานในขั้นต่างๆได้
2. นักเรียนบอกประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์ได้
3. สามารถนำงานคอมพิวเตอร์ไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามขั้นตอนและมีคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์
4. นักเรียนรู้จักอุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์และรู้จักการใช้แถบเมนูต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
กิจกรรมการเรียนการสอน
แบบฝึกหัด เรื่อง คำสั่งในแถบเครื่องมือ
ชื่อ-สกุล………………………………………………..เลขที่…...ชั้นมัธยมศึกษาปีที่.........
คำชี้แจง ให้นักเรียนบอกชื่อของแถบเครื่องมือและหน้าที่การใช้งานให้ถูกต้อง
ชื่อเครื่องมือ หน้าที่การใช้งาน
ใบความรู้ เรื่อง การใช้เมนูและแถบเครื่องมือ
แถบเมนู (Menu Bar)
แถบเมนูเป็นที่เก็บคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรมการเรียกใช้งานแถบเมนูทำได้โดยการเลื่อนเมาส์มาว่างที่ชื่อเมนูที่ต้องการเปิด แล้วเลื่อนเมาส์ไปตามรายการคำสั่ง เมื่อต้องการใช้ คำสั่งใด ๆ ก็ให้คลิกเมาส์ที่คำสั่งนั้น โปรแกรมก็จะทำการเรียกใช้งานคำสั่งนั้น ๆ ถ้าคำสั่งนั้นมีเมนูย่อย ๆ โปรแกรมก็จะแสดงรายการคำสั่งย่อย ๆ ออกมาให้เลือกต่อไป
โปรแกรมเวิร์ดทุกรุ่น จะมีแถบเมนูคล้ายๆกันคือ แฟ้ม, แก้ไข, มุมมอง, แทรก, รูปแบบ, เครื่องมือ, แสดงภาพนิ่ง, หน้าตาง, วิธีใช้ แต่ละเมนูมีคำสั่งการใช้งานแตกต่างกันออกไป
แถบเครื่องมือ (Toolbars)
แถบเครื่องมือ เป็นสัญลักษณ์ (Icon) ที่ใช้แทนคำสั่งต่าง ๆ แถบเครื่องมือที่โปรแกรมได้จัดเตรียมไว้ให้นั้นมีอยู่มากมายหลายชุดด้วยกันแต่แถบเครื่องมือเหล่านี้จะไม่ได้ถูกแสดงให้เห็นทั้งหมดในโปรแกรมเวิร์ด จะแสดงเพียง 2 ชุด ที่ใช้งานประจำ คือ มาตรฐาน และจัดรูปแบบ ซึ่งมีรายการคำสั่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
แถบเครื่องมือ มาตรฐาน
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23
ลำดับที่ ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อภาษาไทย หน้าที่
1 New สร้าง สร้างเอกสารใหม่
2 Open เปิด เปิดเอกสารเดิมที่เคยมีการบันทึกไว้
3 Save บันทึก บันทึกเอกสารลงดิสก์
4 Print พิมพ์ พิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์แบบด่วน
5 Spelling&Gamma สะกดและไวยากรณ์ ตรวจสอบการสะกดคำและไวยากรณ์
6 Toggle E/T สลับตัวอักษร สลับตัวอักษรระหว่างภาษาอังกฤษ/ไทย
7 Thai Dictionary พจนานุกรม เปิดพจนานุกรมในเครื่อง
8 Cut ตัด ลบข้อความที่เลือก
9 Copy คัดลอก คัดลอกข้อความที่เลือกเก็บในคลิปบอร์ด
10 Paste วาง วางข้อความที่เก็บในคลิปบอร์ด
11 Undo เลิกทำ ยกเลิกคำสั่งรายการที่ผ่านมา
12 Redo ทำซ้ำ ทำคำสั่งที่ถูกยกเลิกอีกครั้ง
13 Hyperlink แทรกการเชื่อมโยง สร้างตำแหน่งที่ต้องการเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่น
14 Web Toolbar แถบเครื่องมือ Web แสดง/ซ่อน แถบเครื่องมือ Web
15 Insert Word แทรกงาน Word ขอใช้ตารางแบบ Word
16 Insert Excel แทรกงาน Excel ขอใช้ตารางแบบ Excel
17 Insert Chart แทรกแผนภูมิ ขอใช้ตารางและข้อมูลจากโปรแกรม Chart
18 Insert Clip Art แทรกภาพตัดปะ ใส่ภาพสำเร็จรูปจาก Clip Art Gallery
19 New Slide สร้างภาพนิ่ง เพิ่มแผ่นสไลด์แบบ Auto Layout
20 Slide Layout เค้าโครงภาพนิ่ง เปลี่ยนแบบการจัดวางแบบใหม่
21 Apply Design ใช้การออกแบบ เลือกเทมเพลตเพื่อใช้ในการตกแต่งสไลด์
22 Black and White View มุมมองขาวดำ เปลี่ยนสีต่าง ๆ ในการนำเสนอให้เป็นสีขาด-ดำ
23 Zoom ย่อ/ขยาย การย่อและการขยายขนาดเอกสารในการมอง
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18
ลำดับที่ ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อภาษาไทย หน้าที่
1 Font แบบอักษร เปลี่ยนแบบของตัวอักษร
2 Font Size ขนาดอักษร เปลี่ยนขนาดของตัวอักษร
3 Bold ตัวหนา กำหนดให้ตัวอักษรเป็นตัวหนา
4 Italic ตัวเอียง กำหนดให้ตัวอักษรเป็นตัวเอียง
5 Underline ขีดเส้นใต้ กำหนดให้ตัวอักษรมีขีดเส้นใต้
6 Shadow เงา กำหนดให้ตัวอักษรมีเงาหรือยกเลิกเงา
7 Align Left จัดชิดซ้าย จัดข้อความชิดซ้าย
8 Center กึ่งกลาง จัดข้อความให้อยู่กึ่งกลาง
9 Align Right จัดชิดขวา จัดข้อความชิดขวา
10 Thai Justify จัดคำแบบไทย จัดข้อความให้ชิดขอบซ้ายและขวาโดยมีการเพิ่ม
ระยะห่างของตัวอักษร
11 Bullets สัญลักษณ์หัวข้อ เติมจุดหรือสัญลักษณ์หน้าข้อความ
12 Increase Paragraph เพิ่มระยะย่อหน้า เพิ่มช่องว่างระหว่างย่อหน้าให้มากขึ้น
Spacing
13 Decrease Paragraph ลดการเว้นบรรทัด ลดช่องว่างระหว่างย่อหน้าให้น้อยลง
Spacing ของย่อหน้า
14 Increase Font Size เพิ่มขนาดอักษร เพิ่มขนาดตัวอักษรให้โตขึ้น
15 Decrease Font Size ลดขนาดอักษร ลดขนาดตัวอักษรให้เล็กลง
16 Promote เลื่อนขั้น เลื่อนลำดับข้อความที่เลือกไว้ให้สูงขึ้นไป
อีกลำดับหนึ่งโดยจะใช้มุมมอง Outline
17 Demote ลดขั้น เลื่อนลำดับข้อความที่เลือกไว้ให้ต่ำลงมา
อีกลำดับหนึ่งโดยจะใช้มุมมอง Outline
18 Animation Effects ลักษณะพิเศษ กำหนดรูปแบบการเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ
ภาพเคลื่อนไหว